Thursday 19 November 2009

Internetlism Symptom : Internet Crazy อาการที่บ่งบอกว่าคุณขาดอินเตอร์เน็ตไม่ได้

ในโลกปัจจุบัน Internet ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ 6 รองจากโทรศัพท์มือถือ นั่นเป็นเพราะว่า ไม่ว่าในชีวิตประจำวันคุณจะทำอะไรก็องเกี่ยวข้องกับ Internet แทบจะทุกกิจกรรม ตัวอย่างเช่น ในการทำงาน ในการพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง การซื้อขายสินค้า กิจกรรมเพื่อความบันเทิงต่างๆ เป็นต้น ซึ่งที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมีความก้าวหน้าและล้ำสมัยมากขึ้น อีกทั้งราคาค่าบริการก็ถูกลง จนทำให้บางคนถึงกับออนไลน์ไว้ 24 ชั่วโมงเลยก็ว่าได้
อาการที่บ่งบอกว่าคุณขาดอินเตอร์เน็ตไม่ได้ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Internetlism หรือ Crazy Internet ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบเห็นกับคนในเกือบทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือแม้ผู้สูงวัยบางท่านก็ยังต้องต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าสู่สังคมออนไลน์
ในฐานะที่ผู้เขียน เป็นหนึ่งในผู้ที่คาดว่าจะเป็นโรค Internetlism หรือ Internet Crazy เนื่องจากต้องทำงานและคลุกคลีกับอินเตอร์ตลอดเวลา ทั้งเรื่องการทำงาน การเรียน และเรื่องส่วนตัว จึงขอนำเสนอข้อมูลที่บ่งบอกอาการของคนที่คาดว่าน่าจะเป็น Internetlism หรือ Internet Crazy ดังนี้

Saturday 14 November 2009

เตือนภัยผู้ใช้ iPhone

เนื่องจากมีข่าวว่า ผู้ใช iPhone ในออสเตรเลีย กำลังถูกผู้ไม่ประสงค์ดี สร้างหนอนคอมพิวเตอร์เข้ามาก่อกวนการใช้งาน iPhone ดังนั้น จึงอยากขอเตือนให้ทุกท่านที่มีมือถือรุ่นนี้ ระวังภัยคุกคามนี้ด้วยนะคะ เนื่องจาก ราคาของมือถือรุ่นนี้ค่อนข้างสูง จึงอยากให้ทุกท่านได้ใช้ประโยชน์จากการใช้งานที่คุมค่า

หนอนไอโฟนโผล่ในออสเตรเลีย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 พฤศจิกายน 2552 17:14 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

ภาพวอลเปเปอร์รูปนักร้องอมตะ Rick Astley ภายหลังไอโฟนติดหนอนไวรัส
โปรแกรมประสงค์ร้ายที่เรียกกันว่า worm นอนขยายตัวออกจากคอมพิวเตอร์มาสู่ไอโฟน (iPhone) โทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัสยอดฮิตของแอปเปิลแล้ว สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่าหนอนไอโฟนตัวแรกนี้แพร่เชื้อแก่ไอโฟนหลายเครื่องแล้วในออสเตรเลีย อาการไม่ร้ายแรงเพียงเปลี่ยนภาพวอลล์เปเปอร์ในเครื่องให้เป็นภาพของ Rick Astley นักร้องนักดนตรียุค 80 ชาวอังกฤษเท่านั้น มือสร้างหนอนให้สัมภาษณ์ ไม่หวังปั่นป่วนแต่อยากกระตุ้นให้เจ้าของไอโฟนตระหนักถึงปัญหาความปลอดภัยบนไอโฟนด้วยการเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นหรือ default หนอนไอโฟนนี้ถูกตั้งชื่อว่าไอคี (Ikee) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ชี้ว่าหนอนนี้สามารถคุกคามเฉพาะเครื่องที่ผ่านการปลดล็อกแบบผิดกฏหมายเท่านั้น ซึ่งทำให้ไอโฟนสามารถรันหรือประมวลผลซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากแอปเปิล ตรงนี้ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าแอปเปิลจะไม่รู้ร้อนหนาวกับเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการประกาศให้ผู้บริโภครู้ว่า ภัยจากการลักลอบปลดล็อกเครื่องนั้นเป็นอย่างไร แม้หนอนไอคีจะไม่สร้างอันตรายร้ายแรง เพียงเปลี่ยนภาพวอลล์เปเปอร์ในเครื่องให้เป็นรูปนักร้องอมตะ Rick Astley และหาทางแพร่กระจายตัวเองต่อไปเท่านั้น แต่ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดของหนอนนี้สามารถนำไปดัดแปลงเพื่อสร้างเป็นโปรแกรมอันตรายยิ่งขึ้นได้ เช่น โปรแกรมขโมยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจะสร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่ผู้ใช้ไอโฟน จุดนี้เกรแฮม คลูเลย์ (Graham Cluley) ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยของโซโฟส (Sophos) ให้ข้อมูลว่าช่องทางการแพร่กระจายของหนอนไอคีคือการเจาะส่วน SSH หรือ Secure Shell โดยใช้รหัสผ่านดั้งเดิมที่มากับตัวเครื่องเพื่อให้เครื่องไอโฟนสามารถถูกควบคุมการทำงานได้จากระยะไกลผ่านอินเทอร์เน็ต หากเจ้าของเครื่องตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ก็จะไม่มีความเสี่ยงติดหนอนดังกล่าวด้วย คลูเลย์ระบุว่าเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นักเจาะระบบชาวดัตช์นั้นเริ่มเปิดศักราชทำมาหากินกับการก่อการร้ายไอโฟนแล้วด้วยชี้ให้เจ้าของเครื่องเห็นรูรั่วและช่องโหว่ของระบบซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทั้งหลาย ก่อนจะเรียกร้องค่าบริการ 5 อียูหรือประมาณ 260 บาทเพื่อแลกกับคำแนะนำในการอุดรูรั่วที่อาจเกิดขึ้น รายงานระบุว่า หนอนไอคีนี้ถูกเขียนขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมาโดยโปรแกรมเมอร์ว่างงานวัย 21 ปีชาวออสเตรเลียนาม Ashley Towns จากการสัมภาษณ์ Towns ระบุว่าไม่เคยได้ยินเรื่องการทำเงินจากการเจาะระบบไอโฟนในกลุ่มชาวดัตช์ แนวคิดในการเขียนไวรัสไม่ได้หวังให้เกิดการปั่นป่วน แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้ไอโฟนที่ปลดล็อกมาแล้วควรเปลี่ยนรหัสผ่านที่เป็น default ใน SSH เสียใหม่ ดูเหมือนว่ามือสร้างไวรัสไอโฟนจะคำนึงถึงความผิดทางกฏหมายที่อาจจะมีผู้ฟ้องร้องต่อศาล โดยขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่ามีไอโฟนกี่เครื่องแล้วที่ติดเชื้อหนอนดังกล่าว แต่ Towns ระบุว่าเฉพาะเครื่องของเขาเองนั้นเป็นพาหะทำให้ไอโฟนราว 100 เครื่องติดเชื้อแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา บริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเอฟซีเคียว (F-Secure) ระบุว่ายังไม่มีรายงานยืนยันการติดเชื้อของหนอนไอคีนอกประเทศออสเตรเลีย โดยล่าสุด ชุดโปรแกรมหนอนไอคีถูกนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เผยแพร่คือ Joshua "JD" Davison กรรมการผู้จัดการบริษัท JelTel บริษัทค้าปลีกบริการอินเทอร์เน็ตในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ที่ได้สัมภาษณ์ Towns มือสร้างไวรัสครั้งนี้ ข่าวการแพร่กระจายของหนอนไอโฟนนี้เริ่มขึ้นจากการถกปัญหาภาพวอลล์เปเปอร์ไอโฟนถูกเปลี่ยนโดยที่เจ้าของไม่ทราบเรื่องภายในกระดานสนทนาของชาวออสเตรเลียแห่งหนึ่งเมื่อหลายวันก่อน โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างว่างานนี้คงสมใจแอปเปิล ที่ประกาศมาตลอดว่าการลักลอบปลดล็อกเครื่องนั้นจะนำไปสู่ความเสี่ยงทั้งด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง

ถึงแม้ว่า หนอนคอมพิวเตอร์นี้จะยังไม่เป็นภัยที่ร้ายแรงต่อผู้ใช้งาน iPhone แต่อยากให้ทุกท่านติดตามข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้และเท่าทันกลโกง และภัยคุกคามต่างๆ ได้ รวมทั้งจะได้ปลอดภัยจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันมากขึ้น

ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต

วันนี้ขอนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Internet ซึ่งวันนี้เป็นคิวของ Face book ที่ผู้ใช้งานทั้งหลายควรต้องอ่าน และต้องระมัดระวังในการใช้งานให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และสามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการ

เตือนภัย ผู้เล่น Face book ระวัง 'Trojan '


โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์
9 พฤศจิกายน 2552 16:31 น.

ไซแมนเทคเตือนผู้เล่น Face book โดนหลอกเปลี่ยนพาสเวิร์ด แต่ได้ Trojan มาแทน
รายงานข่าวจากไซแมนเทคระบุว่าเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่สแปมเมอร์พุ่งเป้ามาที่เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อล่อลวงเหยื่อที่ไม่ทันระวังตัว ซึ่งครั้งนี้เป็นคราวของ Face book นั่นเอง ฝ่ายปฏิบัติการตอบสนองภัยคุกคามของไซแมนเทคพบว่าสแปมเมอร์อาศัยความนิยมของ Face book มาเป็นช่องทางในการปล่อยไวรัส Trojan.Bredolab ซึ่งเป็นไวรัสประเภท Trojan ที่แพร่กระจายไปสู่วงกว้างอย่างต่อเนื่องในปีนี้ Trojan ตัวนี้มีความสามารถในการโหลดแอปพลิเคชันขโมยรหัสผ่าน บอท รูทคิท และโปรแกรมหลอกลวงต่างๆ เข้าสู่ระบบ
สแปมเมอร์ทำการหลอกลวงผู้ใช้ด้วยการส่งอีเมลแจ้งเตือนเกี่ยวกับความผิดพลาดเรื่องของรหัสผ่านในการเข้า Face book โดยโน้มน้าวให้ผู้รับทำการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ โดยให้เข้าไปที่ zipไฟล์ ที่แนบมาเพื่อดูรหัสใหม่ ซึ่งใน zip ไฟล์ ที่ว่าจะแฝงไวรัส Trojan.Bredolab มาด้วย ตามตัวอย่างอีเมลด้านล่าง
ไซแมนเทค ได้แนะนำการป้องกันภัยจากการถูกโจมตีในลักษณะนี้ ได้แก่
1. ก่อนจะคลิ๊กเข้าไปที่ไหนก็ตามให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาคลิกลิงก์ที่ไม่ทราบที่มา
2. ควรจำไว้เสมอว่าห้ามทำการโต้ตอบกับอีเมลขยะ เพราะการตอบรับจะยิ่งทำให้สแปมเมอร์รู้ว่าอีเมลขยะที่ส่งหว่านออกไปมีผู้รับที่แท้จริง จะทำให้ได้รับอีเมลขยะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการคลิกลิงก์ในอีเมลขยะ เพื่อปฏิเสธการรับข้อความจะยิ่งเป็นการยืนยันกับสแปมเมอร์ว่ามีคนเปิดอ่านอีเมลขยะ ควรลบอีกเมลขยะที่น่าสงสัยในทันทีโดยไม่ต้องเปิดอ่าน
3. มีอีเมลเอาไว้ใช้หลายอันสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ โดยมีหนึ่งอีเมลเอาไว้สำหรับใช้งานส่วนตัวเช่นติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูง มีอีเมลอีกหนึ่งอันเอาไว้รับข่าวสารต่างๆ และอีกหนึ่งอันเอาไว้สั่งซื้อของทาง อินเทอร์เน็ต
4. ระวังให้ดีก่อนที่จะกรอกอีเมลแอดเดรสของคุณลงในเว็บ เพราะอีเมลของคุณที่โชว์อยู่บนเว็บเพจเหล่านี้สามารถถูกอ่านได้ด้วยโปรแกรมบอทที่ทำหน้าที่คอยเก็บสะสมอีเมลตามเว็บเพจต่างๆ
5. ติดตั้งระบบป้องกัน และต้องมั่นใจว่าโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่คุณใช้นั้นมีการอัพเดทอยู่ตลอด เพื่อช่วยป้องกันอีเมลขยะและไวรัสได้ ในขณะที่คุณสามารถรับอีเมลอื่นได้ตามปกติ ซึ่งคุณอาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอย่าง Norton Internet Security 2010 โดยสามารถเข้าไปดูบริการด้านความปลอดภัยของเว็บ เช่น Norton Safe Web ที่เป็นชุมชนของบรรดาคนใช้เว็บที่ช่วยกันรายงานเรื่องของเว็บไซต์อันตรายที่มีฟิชชิ่งและซอฟต์แวร์อันตรายทำงานอยู่

หวังว่า ท่านผู้อ่านทั้งหลาย จะปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้อย่างเคร่งครัดนะคะ และอย่าลืมว่า อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ และมีโทษอย่างมหันต์ค่ะ